สาเหตุผมร่วง หรือ โรคที่ทำให้ผมร่วง นั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งในทั่วไปในทางการแพทย์จะแบ่งเรื่องผมร่วง ผมบางออกได้ 2 สาเหตุ ได้แก่ สาเหตุที่เกิดจากทางพันธุกรรมและสาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากทางพันธุกรรม
โดยสาเหตุผมร่วงที่ไม่ได้เกิดจากทางพันธุกรรมที่ว่านี้ เรารวบรวมมาได้ 6 โรคด้วยกัน มาดูกันว่ามีโรคที่ทำให้ผมร่วงโดยไม่รู้ตัวบ้าง
ผมร่วงที่เกิดจากทางพันธุกรรมหรือฮอร์โมน
ก่อนจะไปเจาะลึกถึงโรคที่ทำให้ผมร่วง มากันเริ่มที่อาการผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรมหรือครอบครัว เช่น มีคุณพ่อ หรือคุณปู่มีภาวะผมร่วง ผมบางอยู่แล้ว และถ่ายทอดฮอร์โมนดังกล่าวมายังรุ่นลูกหลาน จึงทำให้พวกเขาอาจจะมีโรคผมร่วง ผมบางติดตัวตั้งแต่เกิดได
สำหรับปัญหาผมร่วมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนั้น มักมาจากการตั้งครรภ์ คลอดลูกแล้วผมร่วง กินยาคุมแล้วผมร่วง การหยุดกินยาคุมกำเนิด หรือวัยหมดประจำเดือน เพราะปัจจัยเหล่านี้ก็สามารถทำให้ผมร่วงชั่วคราวได้เช่นกัน
ผมร่วงจากโรคอื่น ๆ
หากทางครอบครัวไม่มีใครที่เคยมีอาการผมร่วง ผมบาง หรือว่าหัวล้านเลย ปัญหาผมร่วงหนักของคุณอาจจะมาจากโรคที่เกิดจากภาวะผิดปกติของร่างกาย ผลข้างเคียงของการรักษาโรคหรือจากยาที่ทานก็เป็นได้ แล้วโรคอะไรที่ทำให้ผมร่วงได้บ้าง มาดูกันเลย!
6 โรคที่ทำให้ผมร่วงโดยไม่รู้ตัว
1. โรคต่อมไทรอยด์
โรคแรกที่สามารถทำให้ผมร่วงเยอะมาก ๆ ก็คือ โรคต่อมไทรอยด์ หรือ ไทยรอยด์เป็นพิษ จะสังเกตได้จากการโตเป็นก้อนในช่วงด้านหน้าของคอ คนที่เป็นโรคนี้สามารถสังเกตอาการได้จาก ใจสั่น มือสั่น น้ำหนักลง เหนื่อยง่าย และบางคนอาจที่เป็นไทรอยด์อาจมีผมร่วงเป็นกระจุกร่วมด้วย แต่หากรักษาหาย อาการผมร่วงก็จะหายไปแล้วกลับเป็นมาปกติ
ขอบคุณภาพจาก Freepik
2. โรคแพ้ภูมิตัวเอง
โรคแพ้ภูมิตัวเอง คือ โรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายระบบภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบไต ระบบเลือด หรือระบบกล้ามเนื้อ การแสดงอาการของโรคนี้อาจจะเกิดเป็นช่วง ๆ เท่านั้น ซึ่งหนึ่งในการแสดงอาการที่เห็นได้ชัดจะเป็นอาการผมร่วงเยอะ ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนก็คงเคยได้ยินคำว่า “แพ้ภูมิตัวเองจนผมร่วง” นั่นก็เป็นเพราะว่าภูมิคุ้มกันเข้าไปทำลายรากของเส้นผม จนทำให้ระบบผิวหนังเกิดการอักเสบ และทำให้ผมร่วงนั่นเอง
3. โรคมะเร็ง
มะเร็งไม่ได้เป็นโรคที่ทำให้เกิดผมร่วงได้โดยตรง แต่สำหรับคนที่มีอาการผมร่วงหรือผมบางมาก ๆ นั้น เป็นเพราะการใช้ยาในการรักษาโรคมะเร็ง เช่น การทำคีโม หรือ การเคมีบำบัด ดังนั้นจึงอาจจะทำให้ผู้ป่วยผมร่วงหนักได้ อย่างไรก็ตาม อาการผมร่วงที่เกิดจากการทำคีโม การรับยา หรือทำเคมีบำบัด เป็นเพียงผลข้างเคียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะหลังจากได้รับยาเคมีบำบัดครบ เส้นผมจะค่อย ๆ กลับมางอกใหม่อีกครั้งภายในเวลา 2 – 3 เดือน
4. โรคผมร่วงที่เกิดจากยา
ไม่ใช่ยาทุกชนิดที่จะมีผลทำให้เกิดอาการผมร่วง แต่ก็มีบางชนิดที่เป็นสาเหตุของผมร่วงเช่นกัน เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง, ยาความดันโลหิต, ยารักษาโรคข้ออักเสบ, ยาโรคซึมเศร้า, ยารักษาเกี่ยวกับหัวใจ และยาคุมกำเนิด อย่างยาคุมกำเนิดเองจะมีส่วนผสมของสาร DHT (Dihydrotestosterone) ซึ่งมีผลให้เกิดการทำลายรากผมและทำให้ผู้ใช้ยาอาจเกิดอาการผมร่วงได้
5. ภาวะเครียด
- ภาวะเครียดหรือโรคเครียดคืออีกหนึ่งโรคที่ทำให้ผมร่วงได้ โดยส่วนใหญ่ผมจะร่วงเป็นวง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท โดยแบ่งตามความเกี่ยวข้องกับระดับความเครียด ดังนี้ :-
- Telogen effluvium คือ ภาวะผมร่วงที่เกิดจากการกระตุ้นจากความเครียด เมื่อเกิดความเครียดมาก ๆ จะทำให้รูขุมขนจำนวนมากเข้าสู่ระยะพักตัว อาจจะเกิดอาการผมร่วงทันทีเมื่อมีการสระผมหรือหวีผม
- Trichotillomania คือ ภาวะผมร่วงที่เกิดจากการตอบสนองต่ออารมณ์ บางครั้งที่รู้สึกเครียดมาก ๆ ก็อาจจะทำให้เกิดพฤติกรรมการดึงผม ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีจัดการกับความรู้สึกเชิงลบหรือไม่สบายใจ เช่น ความเครียด ความตึงเครียด ความเหงา ความเบื่อหน่าย และความหงุดหงิด เป็นต้น
- Alopecia Areata มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการผมร่วง ซึ่งอาจรวมถึงความเครียดที่รุนแรง เมื่อมีอาการผมร่วงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะโจมตีรูขุมขนซึ่งทำให้ผมร่วง
ทั้งนี้ผมร่วงที่เกิดจากความเครียดไม่ใช้โรคถาวร หากคุณควบคุมความเครียดได้ผมของคุณจะงอกและกลับมามีสุขภาพดีได้
6. โรคซิฟิลิส
โรคซิฟิลิส คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ผมร่วงจากซิฟิลิสเป็นการแสดงอาการร่วมอย่างหนึ่งของผู้ป่วยในระยะที่ 2 อาจจะมีการร่วงหนักมากเป็นกระจุกเวลาหวีผม และลักษณะของหนังศีรษะบริเวณที่มีผมร่วงก็จะเถิกหรือล้านเป็นหย่อม ๆ แต่ในขณะเดียวกันบางรายอาจมีผมร่วงทั่วศีรษะได้
ขอบคุณภาพจาก Freepik
จะเห็นได้ว่าสาเหตุผมร่วงและโรคที่ทำให้ผมร่วงนั้นมีมากพอสมควร เช่น ในคนที่เจ็บป่วยมาก ๆ ในผู้หญิงหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ หรือแม้กระทั่งในคนที่มีภาวะไทรอยด์ผิดปกติ ก็จะมีภาวะผมหลุดร่วงได้ รวมไปถึงคนที่รักษาโรคมะเร็ง และใช้ยาเคมีบำบัดก็เกิดอาการผมร่วงหนักมากได้เช่นกัน
ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนจะรักษาผมร่วง แพทย์จะต้องวินิจฉัยลักษณะผมร่วงของคนไข้และหาสาเหตุของอาการก่อนเป็นอันดับแรกเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการแก้ผมร่วงและผมบาง
และหากคุณกำลังเผชิญโรคผมร่วงหรือมีอาการผมร่วงหนักมาก จองเวลานัดหมายกับ Million Hair Transplant เพื่อขอคำปรึกษาเลยตอนนี้!