รู้ก่อนดีกว่า! ยาอันตรายที่ทำให้ “ผมร่วง” และยาไหนแก้ได้บ้าง

รู้หรือไม่มียาอันตรายที่ทำให้คุณกลายเป็น “คนผมร่วง” ได้? โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สภาพร่างกายเสื่อมสภาพ ทำให้หนังศีรษะไม่แข็งแรงและผมร่วงได้ในที่สุด ซึ่งเมื่อร่างกายอ่อนแอก็อาจต้องพักรักษาและใช้ยาช่วย แต่…ก็มียาบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อเส้นผม หรือมีผลข้างเคียงที่ทำให้ผมร่วงได้หลังจากทานแต่…ยาที่ว่าก็ไม่ถึงขั้นที่ทำให้ผมร่วงร้อยเปอร์เซ็นต์เช่นกัน ดังนั้นในบทความนี้เราจึงจะพาทุกคนมารู้จักยาอันตรายที่ทำให้กลายเป็น “คนผมร่วง” และแนะนำยาแพ้เพื่อให้รับมือได้อย่างถูกต้องหากผมร่วงเยอะเกินเหตุ
ผมร่วงติดหวี

ทำไมผลข้างเคียงของยาถึงทำให้ผมร่วงได้?

ยาทุกชนิดถูกออกแบบมาเพื่อรักษาสุขภาพและสภาวะร่างกายที่หลากหลาย แต่บางครั้งก็อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ตามมา ยาบางชนิดอาจมีส่วนทำให้ผมเจริญเติบโตมากเกินไป จนอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีผมหรือผมร่วงยาทำให้ผมร่วงโดยไปรบกวนวงจรปกติของการเจริญเติบโตของเส้นผมที่หนังศีรษะ โดยจะแบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกัน คือ ช่วง Anagen ซึ่งเป็นเวลา 3 – 5 ปีผมจะงอกขึ้น ช่วง Catagen ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10 วันหรือ 2 – 3 สัปดาห์ที่ผมจะคงอยู่บนหนังศีรษะ และเมื่อสิ้นสุดระยะ Telogen ผมจะหลุดร่วงและถูกแทนที่ด้วยผมใหม่ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 100 วันหรือ 3 เดือนและหากจะพูดถึงผลข้างเคียงของยานั้น ก็สามารถทำให้ผมร่วงได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ Telogen Effluvium และ Anagen Effluvium 
  • Telogen Effluvium เป็นรูปแบบของผมร่วงที่เกิดจากยาที่พบบ่อยที่สุด โดยปกติจะปรากฏภายใน 2 – 4 เดือนหลังจากรับประทานยา ภาวะนี้ทำให้รูขุมขนเข้าสู่ระยะพักตัว (Telogen) และหลุดออกเร็วเกินไป คนที่มีเทโลเจนที่ปล่อยออกมามักจะผลัดขนระหว่าง 30% ถึง 70% มากกว่าคนปกติ 100 ถึง 150 เส้นต่อวัน
  • Anagen Effluvium คือการสูญเสียเส้นผมที่เกิดขึ้นในช่วง Anagen ของวงจรขนเมื่อเส้นขนกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ป้องกันไม่ให้เซลล์เมทริกซ์ซึ่งผลิตเส้นขนใหม่แบ่งตัวตามปกติ ผมร่วงประเภทนี้ มักเกิดขึ้นภายในไม่กี่วันถึงสัปดาห์หลังจากรับประทานยา พบบ่อยที่สุดในผู้ที่รับประทานยาเคมีบำบัดสำหรับโรคมะเร็งและมักมีอาการรุนแรงทำให้ผู้คนสูญเสียเส้นผมส่วนใหญ่หรือทั้งหมดบนศีรษะเช่นเดียวกับคิ้วขนตาและขนตามร่างกายอื่น ๆ
ความรุนแรงของผมร่วงที่เกิดจากยาขึ้นอยู่กับชนิดของยา ปริมาณ และความไวของร่างกายต่อยานั้น ๆ 

รายชื่อยาอันตรายที่อาจทำให้ผมร่วง

สำหรับกลุ่มยาที่แพทย์พบบ่อย ๆ และมีผลข้างเคียงทำให้ผมร่วงจะแบ่งออกเป็นดังนี้ :-
  1. Roaccutane คือ ยารักษาสิวที่คนไข้ใช้ทาน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการผมร่วงได้
  2. กลุ่มยาที่ใช้ต้านการซึมเศร้าบางตัว สามารถทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน เช่น Zoloft , Prozac
  3. ยากดภูมิคุ้มกัน 
  4. ยาเก๊าท์ ( colchicine ) ทำให้เกิด Anagen effluvium ในบางคน
  5. ฮอร์โมน Testosterone
  6. ยาคุมกำเนิดบางชนิด หนึ่งในยาที่สำคัญผู้หญิงที่ทานยาคุมแล้วทำให้ผมร่วง  
  7. ยาแก้ปวดกลุ่ม non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) พบน้อยกว่า 1 %
  8.  Coumadin 
ยาแก้ผมร่วง

ขอบคุณภาพจาก Freepik

มียาแก้ผมร่วงไหม หรือมีวิธีรักษาอย่างไร?

สำหรับยาแก้ผมร่วงหรือวิธีรักษาอาการผมร่วงที่เกิดจากยาอันตรายข้างต้นนั้น เรามีข้อแนะนำดังนี้ :-

  • ทบทวนยาที่คุณทานและปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น 
  • เมื่อผมร่วงเกิดขึ้นจากยาที่คุณกำลังรับประทานมีโอกาสดีที่ผมจะงอกกลับมาได้เองหลังจากที่คุณหยุดใช้ยา 
  • หากการหยุดยาไม่ช่วยให้ผมร่วงลดลงคุณอาจต้องได้รับการรักษาด้วย Finasteride (Propecia) หรือ Minoxidil (Rogaine) ซึ่งเป็นยารักษาผมร่วง ช่วยให้ผมร่วงช้าลง และยังช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผมใหม่ได้ 

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มยาอีกหลายตัว เช่น ยากันชักและยารักษาโรคทั่วไป ซึ่งยาต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของโรคที่ทำให้ผมร่วง หรือโรคผมร่วงเป็นหย่อมได้ทั้งนั้น แต่อย่าลืมว่าบางครั้งเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงยาพวกนี้ได้ 

อย่างไรก็ตาม แม้จะกินยาแล้วผมร่วง แต่ไม่ถึงขั้นร่วงร้อยเปอร์เซ็นต์ (ยกเว้นกลุ่มของยาเคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง) ส่วนใหญ่จะเป็นตัวที่ออกฤทธิ์กับเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการแบ่งตัวของเซลล์ ดังนั้นรากผมจึงเป็นเซลล์หนึ่งในร่างกายที่ยังคงแบ่งตัวอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งหากผมร่วงหนักหรือเยอะเกินไปควรรีบปรึกษาแพทย์หรือเภลัชกรเพื่อรับการรักษาอาการผมร่วงหรือหายามาทานเพื่อลดอาการโดยไว

หรือจะปรึกษาแพทย์ที่คลินิกดูแลเส้นผมใกล้บ้านก็ได้เช่นกัน อย่างที่ Million Hair Clinic คลินิกปลูกผมและรักษาผมร่วง ก็มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทีมงานดูแลเกี่ยวกับเส้นผมโดยเฉพาะ ไม่ว่าคุณจะมีผลข้างเคียงจากยา หรือปัญหาผมร่วงจากสาเหตุอื่น ๆ ก็บอกลาทุกปัญหาได้ครบ จบในที่เดียว คราวนี้คุณก็จะไม่มีปัญหาผมงอกช้า ผมบาง หัวล้าน หรือหัวเถิกแล้ว

 

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]