Hair Restoration

Share on facebook
Share on google
Share on twitter
Share on linkedin
 

Regenera Activa

เทคนิคการฟื้นฟูเซลล์รากผมที่เสื่อมสภาพให้คืนสู่ปกติ เพิ่มจำนวนและความแข็งแรงของเส้นผม กลับมีเส้นผมเป็นธรรมชาติ โดยใช้สเต็มเซลล์จากรากผมของคุณเอง เป็นตัวกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมใหม่

Regenera activa หรือ Rigenera Activa เป็นชื่อเครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่ใช้ Autologous Micrografting Technology ®

โดยตัวเครื่องจะมีใบมีดขนาดเล็กมาก จำนวน 600 micro blades ประกอบกันเป็นตารางรูปทรง 6 เหลี่ยม       ( hexagonal ) ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 80 ไมครอน

ทำหน้าที่ปั่นเนื้อเยื่อให้มีขนาดเล็กละเอียดมาก เทคนิคนี้ต้องเจาะเอาชิ้นเนื้อขนาดเล็กของหนังศีรษะ ซึ่งประกอบไปด้วย เซลล์รากผมและเนื้อเยื่อไขมันบางส่วน แล้วใช้เครื่อง Regenera คัดแยกเอาเซลล์ออกมา

เซลล์ที่ได้จะประกอบไปด้วย stem cell จากรากผม และ Progenitor cell ที่อยู่ในบริเวณเนื้อเยื่อไขมันใต้หนังศีรษะซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างเส้นเลือดต่างๆ รวมไปถึง extracellular matrix และ Growth factors ต่างๆ

เราจะใช้องค์ประกอบเหล่านี้มาทำการรักษา โดยฉีดกลับเข้าไปในบริเวณที่มีปัญหาผมร่วงผมบาง  เซลล์เหล่านี้จะทำหน้าที่ส่ง สารสื่อสาร (messenger) ออกไปกระตุ้นเซลล์รากผมบริเวณนั้น ให้มีการแบ่งตัวและสร้างเส้นผมใหม่ขึ้นมา

บทความโดย  พญ.จรัสนัฐ หล่อธราประเสริฐ และ นพ. ธิติวัฒน์ วีรโรจน์รัชกุล

อ้างอิงจาก https://www.regeneraactiva.com/en-regeneraactiva

https://www.ame.co.th/index.php/products/regenera


 

 

Sonicated PRP

ปัจจุบันมีการเพิ่มประสิทธิภาพของ PRP ให้มากขึ้นกว่าเดิม เราเรียก “Sonicated PRP”

ซึ่งสามารถเพิ่มความเข้มข้นของ Growth Factors ได้เกินกว่า 8 เท่าจากในเลือดปกติ

กระบวนการนี้ต้องใช้เครื่อง ultrasonic ในการทำ ซึ่งไม่ใช่เครื่องมือทั่วไปในท้องตลาด

ผลลัพธ์ที่ได้ดีกว่า PRP ทั่วไป

🚩MHC ได้นำกระบวนการนี้มาใช้โดยได้เริ่มติดตั้งเครื่องมือที่ทันสมัยนี้ “Sonicated PRP” ไม่จำเป็นต้องฉีดบ่อยเท่า PRP ทั่วไปที่ต้องทำทุกเดือน

🚩PRP คืออะไร?🚩
PRP ย่อมาจาก Platelet  Rich Plasma เป็นกระบวนการที่เราเก็บเลือดออกมาจากตัวของคนไข้ เสร็จแล้วนำมาปั่นด้วยเครื่องเซนทริฟิวจ์(Centrifuge) เพื่อแยกส่วนที่เป็น Plasma ซึ่งมีจำนวนเกล็ดเลือดที่มีความเข้มข้นสูงโดยจะมี Growth factors สูงกว่าในเลือดประมาณ 3 เท่า แล้วนำเกล็ดเลือดเข้มข้นในส่วนนี้มาฉีดลงไปในบริเวณที่เราต้องการจะแก้ปัญหา

โดยตัวเกล็ดเลือดเองมีคุณสมบัติพิเศษ ทำหน้าที่เหมือนกับช่างซ่อมในระบบหมุนเวียนโลหิต เวลาที่มีเส้นเลือดฉีกขาดหรือว่ามีการบาดเจ็บ หน้าที่ของตัวเกล็ดเลือด นอกจากทำหน้าที่เสมือนผนังป้องกันไม่ให้เลือดออกแล้ว ยังปล่อย Growth factors และสารสำคัญต่างๆที่ใช้สำหรับซ่อมแซมเนื้อเยื่อในบริเวณนั้น เรานำ PRP มาใช้รักษาอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ข้อเข่า รวมถึงผิวพรรณความงามและผมร่วงด้วย

ส่วนการทำ Sonicated PRP จะนำส่วนของ plasma และเกล็ดเลือดที่ได้จากการปั่นแยกในขบวนการทำ PRP ตามปกติมาเข้าเครื่องมือที่ปล่อย ultrasonic wave ( Bioruptor® Sonicator )เพื่อทำให้เกล็ดเลือดแตกตัวแล้วปลดปล่อยสาร Growth factor ชนิดต่างๆออกมาเพิ่มมากขึ้นเกินกว่า 8 เท่าจากในเลือดปกติ

ประโยชน์จาก Sonicated PRP คือ
1. กระตุ้นการสร้างเส้นเลือดใหม่ในบริเวณนั้น
2. กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ของรากผม
3. ป้องกันการฝ่อตัวของเซลล์รากผมในบริเวณนั้น
เราสามารถนำ Sonicated PRP มาเสริมการรักษา รวมทั้ง การรักษาแบบ monotherapyในคนไข้ที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีทานยา หรือปลูกผม ผลการรักษาตามรายงานการวิจัยทางการแพทย์พบว่าให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการทำPRP ทั่วๆไป. และไม่ต้องฉีดบ่อยครั้ง.
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 099-445-1424

https://www.researchgate.net/publication/321060465_Alopecia_and_platelet-derived_therapies

บทความโดย นพ.ธิติวัฒน์ วีรโรจน์รัชกุล และ พญ. จรัสนัฐ หล่อธราประเสริฐ

 

SVF (Stromal Vascular Fraction)

SVF (Stromal Vascular Fraction)

SVF คือ การแยก stem cell ออกจากไขมัน ซึ่ง SVF จะมีส่วนประกอบของ Stem Cell มากถึง 40% เเละยังมี Growth Factor ที่มีผลอย่างยิ่งต่อการแก้ไขซ่อมแซมเซลล์และส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

SVF ย่อมาจาก Stromal Vascular Fraction คือกรรมวิธีในการแยกสเต็มเซลล์จากไขมัน

SVF ถูกค้นพบหรือพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ ปี 2001โดยนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งใช้การดูดไขมันออกมา แล้วมาใช้กรรมวิธีในการแยกเอาองค์ประกอบที่ไม่มีเซลล์ไขมันเลยเรียกว่า Stromal

ถ้าเปรียบเทียบกับการสร้างสะพาน Stromal เปรียบได้กับส่วนที่เป็นเหล็กดัดหรือปูนนั่นเอง Vascular คือเส้นเลือด Fraction คือองค์ประกอบ

ดังนั้น Stromal Vascular Fraction คือองค์ประกอบที่ได้มาจากการดูดไขมัน แล้วแยกเอาเนื้อไขมันออก เหลือส่วนที่เรียกว่า Stromal Vascular Fraction

ทำไมถึงมีบทบาทใช้ในการรักษาต่างๆ แม้กระทั่งในการรักษาอาการบาดเจ็บ หรือข้อเข่าเสื่อม เพราะว่าใน Stromal Vascular Fraction มีองค์ประกอบค่อนข้างเยอะ องค์ประกอบที่สำคัญคือ
1. Adipose stem cells
2. Mesenchymal stem cells
3. Progenitor cells
4. Growth Factors

Stem Cell คือ เซลล์ต้นกำเนิดที่จะเปลี่ยนเป็นเซลล์อะไรก็ได้ในร่างกาย ในกลุ่มของ Stem cell เอง เราพบว่ามีบทบาทในการช่วยซ่อมแซม เสริมสร้าง และทำให้บริเวณที่มีการบาดเจ็บ มีบาดแผล หรือพบการอักเสบสามารถหายได้เร็วขึ้น

ทำไมถึงหายได้เร็วขึ้น เพราะว่ากระบวนการอักเสบจริงๆแล้วผ่านกระบวนการเป็นขั้นตอน เรียกง่ายๆว่าเป็น ขั้นที่1, ขั้นที่2, ขั้นที่ 3, และขั้นที่ 4 ในการที่ใช้ Stem cell เข้าไป จะทำให้เกิดการลัดขั้นตอนของการอักเสบ ดังนั้นระยะอักเสบจะหดสั้นลง การอักเสบหายเร็วขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ พังผืดทั้งหลายจะลดน้อยลง ทำให้เซลล์เนื้อเยื่อของร่างกายถูกซ่อมแซมกลับไปสู่สภาพเนื้อเยื่อปกติได้ดีมากขึ้นโดยไม่ทิ้งร่องรอยเอาไว้

SVF (Stromal Vascular Fraction) มีหลายคนสับสนกับการรักษาแบบอื่น เช่น PRP (Platelet Rich Plasma) หรืออะไรก็ตาม แต่ในปัจจุบัน SVF ถูกนำมาใช้ในการรักษาผมร่วง ผมบาง ซึ่งพบว่าได้ผลลัพธ์ค่อนข้างดี

ถ้าเปรียบเทียบการรักษาด้วย PRP กับ SVF ว่าแตกต่างกันอย่างไร

จุดประสงค์ในใช้งาน SVF กับ PRP เกือบจะคล้ายกันทุกอย่าง แต่จุดสำคัญที่เราต้องการคือให้ Messenger ซึ่งคือสารสื่อคำสั่งที่จะทำให้เซลล์ทำงานได้อย่างที่เราต้องการ    โดย PRP (Platelet Rich Plasma) ก็มี Messenger รูปแบบหนึ่ง มี Growth Factor รูปแบบหนึ่ง ส่วน SVF (Stromal Vascular Fraction) ก็มี Messenger อีกรูปแบบหนึ่งจากเซลล์ต่างๆที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในนั้น แล้วเราพบว่าใน SVF เอง จะมีการหลั่งสาร Growth Factor ค่อนข้างเยอะและมี Growth Factor บางชนิดที่ใน PRP อาจจะไม่เจอ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงพบว่าการใช้ SVF ในการรักษาผมร่วง สามารถทำให้ได้ผลการรักษาดีเพิ่มขึ้นไปอีก

แล้วมีคนใช้ SVF ร่วมกับ PRP ไหม?

โดยหลักการแล้ว PRP ก็มีข้อดีของตัวเอง และSVF ก็มีข้อดีของตัวเองเหมือนกัน แต่ว่าทั้ง PRP และ SVF ไม่ได้มีทุกอย่างที่เหมือนกันทั้งหมด เมื่อนำมารวมกันปรากฏว่าผลลัพธ์ที่ได้ดีมากยิ่งขึ้น จึงมีคนนำ SVF กับ PRP มารวมกันในการรักษาผมร่วง ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น ความหนาแน่นของผมสามารถเพิ่มขึ้นได้ถึง 20 %
แต่เราพบว่ามีงานวิจัยฉบับหนึ่งรายงานว่าเมื่อเอา SVF มาฉีดผ่านกระบวนการที่ถูกต้องจะกระตุ้นให้เซลล์รากผมเจริญเติบโตได้มากขึ้นตั้งแต่ 30-90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการวิจัยที่พบในบางรายไม่ใช่ทุกคนจะได้แบบนี้ทั้งหมด จึงเป็นความหวังของคนที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง
SVF อาจจะยากกว่าการทำ PRP เพราะว่ากระบวนการในการแยก SVF คือต้องดูดไขมันออกมาหรือในกรณีที่ทำผ่าตัดปลูกผมเป็นแบบ Strip เวลาที่เราตัดยกเอาหนังศีรษะออกมาข้างใต้จะมีไขมันเราสามารถใช้ไขมันตรงนี้ไปปั่นแยกออกมาแล้วนำกลับมาฉีด ถามว่ามันดีกว่าไหม? ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบว่าวิธีการนี้กับการใช้เทคนิคเดิมที่แยกเอา SVF ออกมาจากการดูดไขมันอันไหนดีมากกว่ากัน แต่การดูดไขมันได้จำนวนไขมันมากกว่าปริมาณเซลล์ที่แยกกันจึงมากกว่า

ในงานวิจัยกระบวนการแยก SVF จากไขมันที่ดูดออกมาได้มี 2 วิธีคือ
1. ใช้เอนไซม์ย่อยไขมันที่ดูดออกมา
2. ใช้เครื่องอัตโนมัติ โดยเครื่องจะดูดไขมันออกมาแล้วแยก SVF ออกมาให้

แต่พบว่าการใช้เอนไซม์ย่อย จะทำให้ได้ปริมาณของ Growth Factor หรือได้เซลล์ ที่เราต้องการมากกว่า ซึ่งผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่กระบวนการในการใช้เอนไซม์มีขั้นตอนยุ่งยากส่วนกระบวนการโดยการใช้เครื่องอัตโนมัติจะแพงกว่า ไม่ยุ่งยากเท่า ใช้เวลาน้อย แต่ว่าได้ตัวเซลล์ , สเต็มเซลล์ หรือ Growth factor อาจจะน้อยกว่าการใช้เอนไซม์ย่อยเล็กน้อย ปัญหาคือ เมื่อไหร่ที่มีการใช้เอนไซม์เข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการเปลี่ยนแปลงเซลล์หรือสเต็มเซลล์ ตามกฎหมายของทางสหรัฐอเมริกา หรือ FDA จะถือว่าเป็นการไปทำ Manipulated Cell (ดัดแปลงเซลล์)
ในทางกฎหมายของสหรัฐอเมริกาไม่ยอมรับวิธีการนี้แต่ก็มีคนที่ใช้เหมือนกัน ส่วนนอกอเมริกาก็มีคนใช้เทคนิคนี้เหมือนกัน ข้อเสียก็คือเอนไซม์ในทางการแพทย์ที่นำมาใช้ย่อยในทางปฏิบัติแล้วหาค่อนข้างยาก ในบ้านเราส่วนใหญ่จะเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในห้องทดลองมากกว่า ดังนั้นสิ่งที่สะดวกที่สุดและหมอคิดว่าปลอดภัย และปลอดเชื้อมากที่สุด ก็คือการใช้เครื่องมือที่เรียกว่าเป็น Closed System (ระบบปิด) ดูดไขมันแยกตัว SVF ออกมาและฉีดกลับเข้าไป ต้นทุนสูงกว่าบ้าง แต่ค่อนข้างปลอดภัย แม้จะได้เปอร์เซ็นต์ SVF ที่น้อยกว่าเล็กน้อย แต่เมื่อรวมกับการทำ PRP หรือ Sonicated PRP แล้วจะทำให้ผลการรักษาดีมากยิ่งขึ้น

SVF

บทความโดย นพ.ธิติวัฒน์ วีรโรจน์รัชกุล

 

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5506773/

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29554209/

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31541565/

https://jcadonline.com/stromal-vascular-fraction-alopecia/

Exosomes

Exosomes เป็นถุงขนาดเล็กที่จับกับเมมเบรนซึ่งหลั่งออกมาจากเซลล์และประกอบด้วยสารชีวโมเลกุลหลายชนิด รวมทั้งโปรตีน ไขมัน และกรดนิวคลีอิก 

Exosomesได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเนื่องจากมีประโยชน์ในทางการแพทย์  ในบทความนี้ เราจะสำรวจว่าเอ็กโซโซมคืออะไรและมีประโยชน์ในทางการแพทย์อย่างไร

Exosomes คืออะไร

 Exosomesเกิดขึ้นจากการแตกตัวภายในของพลาสมาเมมเบรน ส่งผลให้เกิดการก่อตัวของถุงภายในเซลล์ที่ปล่อยออกไปยังพื้นที่นอกเซลล์  ถุงเหล่านี้สามารถถูกยึดโดยเซลล์ข้างเคียงหรือเคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งที่ห่างไกลในร่างกาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการสื่อสารของเซลล์  มีการพบว่าExsosomes มีบทบาทในกระบวนการทางสรีรวิทยาที่หลากหลาย รวมถึงการควบคุมภูมิคุ้มกัน การซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และการลุกลามของมะเร็ง

  • Creation of exosomes. FROM: Graça Raposo and Willem Stoorvogel. Extracellular vesicles: exosomes, microvesicles, and friends. J Cell Biol . 2013 Feb 18;200(4):373-83. USED WITH CREATIVE COMMONS LICENSE. All credit to original source

 หนึ่งในการประยุกต์ใช้ exosomes ในทางการแพทย์ที่มีแนวโน้มมากที่สุดคือการใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยและการรักษา  exosomes สามารถแยกได้จากของเหลวต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงเลือด ปัสสาวะ และน้ำลาย และสามารถวิเคราะห์lส่วนประกอบของexosomes เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานะสุขภาพของแต่ละบุคคลได้  ตัวอย่างเช่น exosomes ที่ได้จากเซลล์มะเร็งอาจมีตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเฉพาะที่สามารถใช้เพื่อวินิจฉัยการปรากฏตัวของมะเร็งหรือติดตามการลุกลามของโรค

 

Exosomes ยังมีประโยชน์ในการรักษาอีกด้วย  พวกมันสามารถออกแบบให้ส่งโมเลกุลเฉพาะ เช่น ยาหรือสารพันธุกรรมไปยังเซลล์เป้าหมาย  วิธีการนี้ถูกนำมาใช้เพื่อส่งสารรักษาโรคไปยังเซลล์มะเร็ง ตัวอย่างเช่น โดย ออกแบบ exosomes เพื่อส่งถึงแอนติเจนที่จำเพาะต่อเนื้องอกที่สามารถกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเซลล์มะเร็ง  Exosomesยังถูกใช้เพื่อส่ง small interfering RNA (siRNA) ไปยังเซลล์เป้าหมาย ซึ่งสามารถใช้เพื่อปิดคำสั่งยีนเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเกิดโรค

นอกจากศักยภาพในการวินิจฉัยและการรักษาแล้ว Exosomesยังมีศักยภาพในการประยุกต์ใช้ในเวชศาสตร์ฟื้นฟูอีกด้วย  มีการพบว่าExoxomesที่ได้จากสเต็มเซลล์ส่งเสริมการซ่อมแซมและการสร้างเนื้อเยื่อในสัตว์ต่างๆ  Exosomesเหล่านี้ประกอบด้วย Growth factor ที่หลากหลายและโมเลกุลอื่นๆ ที่สามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนและการแยกเซลล์ ซึ่งนำไปสู่การซ่อมแซมและการสร้างเนื้อเยื่อใหม่

โดยสรุป Exosomes เป็นถุงขนาดเล็กที่มีเยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเนื่องจากมีประโยชน์ในทางการแพทย์  มีการใช้งานในการวินิจฉัยและการรักษาเช่นเดียวกับการใช้งานที่เป็นไปได้ในเวชศาสตร์ฟื้นฟู  ในขณะที่การวิจัยในสาขานี้ดำเนินต่อไป มีแนวโน้มว่า Exosomes จะกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากขึ้นในการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ

  • The biology, function, and biomedical applications of exosomes  RAGHU KALLURI HTTPS://ORCID.ORG/0000-0002-2190-547X AND VALERIE S. LEBLEU 

Exosomes มีศักยภาพในการรักษาผมร่วง ผมร่วงเป็นอาการทั่วไปที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านทั่วโลก  อาจเกิดจากหลายปัจจัย รวมถึงพันธุกรรม ความไม่สมดุลของฮอร์โมน และความผิดปกติของภูมิต้านทาน แม้ว่าจะมีการรักษาหลายวิธีสำหรับผมร่วง รวมทั้งยาและการผ่าตัด ปลูกผม แต่การรักษาเหล่านี้ไม่ได้ผลเสมอไปและอาจมีผลข้างเคียง

 

 พบว่า Exosomes ที่ได้จากสเต็มเซลล์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเส้นขนในสัตว์ทดลอง  Exosomes เหล่านี้ประกอบด้วยโกรทแฟคเตอร์และโมเลกุลอื่นๆ ที่สามารถกระตุ้นสเต็มเซลล์ของรูขุมขน ซึ่งนำไปสู่การเจริญเติบโตของเส้นผม  ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Stem Cells Translational Medicine นักวิจัยพบว่า Exosomes ที่ได้จากเซลล์ต้นกำเนิดจากไขมัน (ADSCs) ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเส้นผมในหนูที่มีอาการผมร่วง  นักวิจัยพบว่า Exosomes กระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ต้นกำเนิดของรากผม และเพิ่มการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเส้นผม

การศึกษาอีกชิ้นที่ตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports พบว่า Exosomes ที่ได้จากเซลล์ผิวหนัง papilla ของรูขุมขน (HFDPCs) ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเส้นผมในหนูที่มีอาการผมร่วง  นักวิจัยพบว่า Exosomes มีปัจจัยการเจริญเติบโตที่หลากหลายและโมเลกุลอื่น ๆ ที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมและเพิ่มขนาดของรูขุมขน

 

 แม้ว่าการศึกษาเหล่านี้มีแนวโน้มที่ดี แต่จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการรักษาผมร่วงในคนด้วยเอ็กโซโซม  สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าการรักษาโดยใช้ Exosomes ยังอยู่ในขั้นทดลองและยังไม่พร้อมสำหรับการใช้งานทางคลินิก  อย่างไรก็ตาม ศักยภาพของ Exosomes ในการรักษาผมร่วงเป็นงานวิจัยที่น่าตื่นเต้นซึ่งอาจนำไปสู่การรักษาแบบใหม่และมีประสิทธิภาพสำหรับอาการทั่วไปนี้

Reference
  • Graça Raposo and Willem Stoorvogel. Extracellular vesicles: exosomes, microvesicles, and friends. J Cell Biol . 2013 Feb 18;200(4):373-83.

             https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23420871/

  • The biology, function, and biomedical applications of exosomes  RAGHU KALLURI HTTPS://ORCID.ORG/0000-0002-2190-547X AND VALERIE S. LEBLEU 

             https://www.science.org/doi/10.1126/science.aau6977

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]